"สุขทันที ที่เที่ยวไทย" สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องมาให้ได้ในคนละเป็ก EP.31-32
เที่ยวปัตตานี สัมผัสเสน่ห์ชายแดนใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
คนละเป็กEP.31-32 พี่เป็กและหม่อมนถนัดแดกขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในปัตตานีที่รวมความสวยงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และผู้คนที่จะทำให้คุณหลงรักเสน่ห์ของปัตตานีและได้เก็บความทรงจำดีๆของจังหวัดนี้
เริ่มที่นี่ มัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 450 ปี ร่วมสมัยกับยุคกรุงศรีอยุธยาปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2478 และทำการบูรณะซ่อมแซมทั้งนี้เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป
แหลมตาชี จุดอันซีนความงามจากธรรมชาติ ที่นี่จะเป็นบริเวณของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเล ในลักษณะแบบจะงอย ทำให้เกิดเป็นอ่าวปัตตานีด้านในของแหลม มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร และชายฝั่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จากคลื่นลมและกระแสน้ำถือว่าเป็นไฮไลท์ของที่นี่เลย
ตลาดท่าเทียบเรือประมงปัตตานี เป็นท่าเทียบเรือประมงที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ชายแดนใต้ เป็นแหล่งรวมอาหารทะเลและเป็นอีกสายน้ำทางเศรษฐกิจในพื้นที่และเป็นแหล่งส่งออกของทะเลให้กับทั่วทั้งประเทศใครอยากได้ของสดๆต้องห้ามพลาดที่นี่เลย
แพปูโชคอุดมรัชฏ์ “รับจากทะเล คืนสู่ทะเล” พี่เป็กและหม่อมถนัดแดกพาชมกระบวนการเพาะพันธ์ปูม้าซึ่งเป็นการทำประมงอย่างยั่งยืนและได้ปล่อยแม่พันธุ์ปูลงสู่ทะเลปัตตานี โดยแพปูโชคอุดมรัชฎ์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเนื้อปูม้าต้มสุกพรีเมี่ยม มีจุดเด่นเป็นเนื้อปูเกรดพรีเมี่ยม สด อร่อย เนื้อแน่น เป็นสินค้าคุณภาพขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี
ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองปัตตานีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านต่างให้ความเคารพนับถือ เดินทางมาสักการะบูชาเพื่อขอให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ซึ่งก็ได้สมดังหวังกันไปหลายราย เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และศูนย์รวมศรัทธาเสมอมา
วัดช้างให้ วัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ มณฑป อุโบสถและหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
และ วัดทรายขาว จุดเริ่มต้นในอีพี32 วัดทรายขาว เป็นวัดที่มีความสวยงามอลังการด้วยสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงามแปลกตา สีสดใส ทั้งพระอุโบสถ เจดีย์ วิหาร รูปปั้นเทพต่างๆ ผสมผสานศิลปะแบบหลากหลาย ทั้ง ศิลปะแบบ ไทย พม่า อินเดีย เมื่อเดินเข้ามาภายในวัดให้ความรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในดินแดนภารตะ