วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ททท.แพร่ (แพร่-อุตรดิตย์) ชวนเที่ยวงานเทศกาลลางสาดลองกองหวาน และสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 วันที่ 13 – 22 กันยายน 2565 ณ บริเวณสนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก

ททท.แพร่ (แพร่-อุตรดิตย์) ชวนเที่ยวงานเทศกาลลางสาดลองกองหวาน และสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 วันที่ 13 – 22 กันยายน 2565 ณ บริเวณสนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก

นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดงาน "เทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2565" โดยมีพัฒนาการจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้แทนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะมีขึ้นภายในงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน ประชาชน เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องรับฟังรายละเอียดร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณสวนธนาฟาร์ม (สวนมาดี) ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565



ายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีไม้ผลที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ อุดมไปด้วยผลผลิต ทางการเกษตรหมุนเวียนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ทั้งลางสาดและลองกองออกสู่ตลาดจำนวนมากจึงได้กำหนดจัดงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 ระหว่าง วันที่ 13 – 22 กันยายน 2565 ณ บริเวณสนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 36 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมชื่อเสียงของลางสาดและลองกองของจังหวัดอุตรดิตถ์ อีกทั้งเป็นการขยายช่องทางทางการตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคส่งเสริมการผลิต การจำหน่ายผลไม้ และผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัด ส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยกำหนดพิธีเปิดงานในวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2565

 
งานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 ในปีนี้ จะมีมีกิจกรรมมากมาย อาทิ ชมการประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดลางสาดการประกวดลองกอง การประกวดกระเช้าผลไม้ ประเภทสร้างสรรค์ กระเช้าผลไม้ ประเภทสวยงาม การประกวดการเดินแบบแสดงผ้าทออุตรดิตถ์ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง (OTOP) ไมค์ทองคำการจัดตลาดนัดผลไม้ และ แสดงนิทรรศการนวัตกรรมทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ OTOP ของดี จากทั้ง 9 อำเภอ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม และสินค้าราคาถูกจากโรงงาน ชมคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดังและกิจกรรมอื่น ๆ มากมายให้ชมตลอดงาน

ทางด้าน ผู้แทนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มี การเพาะปลูกและให้ผลผลิตลางสาดและลองกอง ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วประเทศ ทั้งลางสาด และลองกอง ที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวาน อร่อย จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจใน ปี 2565 นี้พบว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการปลูกลางสาด และลองกอง ในพื้นที่อำเภอลับแล ปลูกลางสาด 3,820 ไร่ ปลูกลองกอง 23,286 ไร่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปลูกลางสาด 3,371 ไร่ ปลูกลองกอง 6,620 ไร่ และอำเภอท่าปลา ปลูกลางสาด 864 ไร่ ปลูกลองกอง 1,194 ไร่ ซึ่งลางสาดทั้งจังหวัด ที่ให้ผลผลิตแล้ว 7,976 ไร่ ลองกอง 26,114 ไร่ ผลผลิตรวม ลางสาด ประมาณ 4,510.01 ตัน คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 94.27 ล้านบาท ส่วนลองกอง ให้ผลผลิตรวม ประมาณ 28,765.72 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่าประมาณ 862.97 ล้านบาท และจังหวัดอุตรดิตถ์จะมีความอุดมสมบูรณ์ อุดมไปด้วยผลผลิตทางการเกษตรหมุนเวียนตลอดทั้งปี




ส่วนพัฒนาการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ในการจัดงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 ระหว่าง 13 - 22 กันยายน 2565 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับมอบหมายในส่วนของการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP การประกวดการออกแบบ และตัดเย็บชุดผ้าทออุตรดิตถ์ ภายใต้แนวคิด“ผ้าทออุตรดิตถ์ สวมใส่ได้ทุกวัน” การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง (OTOP) ไมค์ทองคำ การประกวดประกอบอาหารจากลางสาด ทั้งนี้การประกวดต่าง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ (ชั้น 3) โทรศัพท์หมายเลข ๐5541 1686 ต่อ 15

ซึ่งท่านที่มาจากต่างจังหวัดนอกจากได้มาเที่ยวชมงานลางสาด ลองกองหวานจังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว ยังจะสามารถเดินทางต่อเพื่อไปเที่ยวชมเมืองอุตรดิตถ์ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ผู้สนใจสามารถเข้าไปเที่ยวชมถึงสวนได้ โดยการประสานในพื้นที่และเจ้าของสวนโดยตรง



สำหรับ ลางสาดและลองกองของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่แหล่งปลูกอยู่ตามภูเขาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของอำเภอลับแล และอำเภอเมือง ลองกองต้นดั้งเดิมเป็นต้นลางสาด ชาวสวนใช้วิธีนำกิ่งพันธุ์ลองกองมาเสียบยอดหรือต่อยอด ชาวสวนได้มีการบำรุงตั้งแต่เริ่มออกดอก ติดผลและแต่งช่อให้ได้ลางสาด – ลองกอง ที่กลายเป็นลองกองที่มีช่อขนาดใหญ่ขึ้น มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และรสชาติไม่หวานจัดอร่อยไม่แพ้ลองกองทางภาคใต้ เปลือกหนา สามารถเก็บไว้ได้นานหลายวัน สำหรับกิจกรรมที่สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์จะจัดขึ้นภายในงานจะมีการประกวดการจำหน่าย ลางสาด ลองกอง ผลผลิตทางการเกษตร/นวัตกรรมทางการเกษตร / การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ททท.แพร่ (แพร่-อุตรดิตย์) จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานและอุดหนุนลางสาดลองกองคุณภาพดี สินค้า OTOP ทั้ง 9 อำเภอ ในงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวานและสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 - 22 กันยายน 2565 ณ บริเวณสนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์

สมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าฯแพร่ เข้ารับรางวัลคุณธรรมอวอร์ด 2564 บุคคลต้นแบบด้านคุณธรรม

สมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าฯแพร่ เข้ารับรางวัลคุณธรรมอวอร์ด 2564 บุคคลต้นแบบด้านคุณธรรม


              นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เข้ารับรางวัล “คุณธรรมอวอร์ด ๒๕๖๔” MORAL AWARDS 2564 ประเภทบุคคลคุณธรรม ด้านวินัยรับผิดชอบ โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัลดังกล่าว ตามที่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ดำเนินการโครงการส่งเสริมและขยายผลบุคคลและองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม เพื่อค้นหา และยกย่องบุคคล ชุมชน องค์กรต่างๆ ในแต่ละภาคส่วนของสังคมไทย รวมทั้งสื่อคุณธรรมสร้างสรรค์ ที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม มีพฤติกรรมควรค่าแก่การยกย่อง เพื่อขยายผลพฤติกรรมความดีสู่ประชาชนวงกว้างในสื่อรูปแบบต่างๆ ให้ประชาชนทุกช่วงวัย ได้รับรู้ เข้าใจ และเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดี โดยในปีนี้มาในธีมการขับเคลื่อนของ Sustainability with moral คือ วิถีคุณธรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่รอดอยู่ร่วมสังคมไทยเป็นสุขอย่างยั่งยืน ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ 

                 ทั้งนี้ในงานมีการประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอเชิงงนโยบายด้านคุณธรรมของภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ ที่มีสาระสำคัญคือจะร่วมกันผลักดันการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นวาระของจังหวัด โดยขอให้รัฐบาลส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมในระดับจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกลไกกลางหรือศูนย์ประสานงานเครือข่ายคุณธรรมจังหวัด ให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงและบริหารจัดการเครือข่ายคุณธรรมอย่างเป็นเอกภาพ มีบทบาทในการสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเป็นพี่เลี้ยงให้การเสริมพลังเพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงกับกลไกสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติในแต่ละเครือข่าย และกลไกระดับชาติด้านการส่งเสริมคุณธรรม



มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งปล่อยขบวนคาราวานเครื่องอุปโภคบริโภคมูลค่ากว่า 12.3 ล้านบาท เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งปล่อยขบวนคาราวานเครื่องอุปโภคบริโภคมูลค่ากว่า 12.3 ล้านบาท เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565

                มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดพิธีปล่อยคาราวานเครื่องอุปโภคบริโภคแจกจ่ายชุดข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา บรรจุกระเป๋าผ้าดิบมูลนิธิฯ  ออกแจกจ่ายให้กับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (รวม 50 เขต) เขตละ 500 ชุด รวมจำนวน 25,000 ชุด โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษาประธานกรรมการฯ นายสัก กอแสงเรือง รองประธานกรรมการ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ  คณะกรรมการ และผู้ช่วยกรรมการมูลนิธิฯ   ให้การต้อนรับและร่วมในพิธี  พร้อมด้วย  นายสัมฤทธิ์  สุมาลี ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นายฉัตรชัย อังสุเชษฐานนท์ หัวหน้าฝ่ายปกครอง เขตสาทร พันตำรวจเอก มนัส รุ่งนาค ผู้กำกับสถานีตำรวจพลับพลาไชย 1 และ พันตำรวจเอกพนม เชื้อทอง ผู้กำกับสถานีตำรวจพลับพลาไชย 2  อาสาสมัครกิตติมศักดิ์  อาสาสมัครศิลปิน อาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีปล่อยคาราวาน ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 

              นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เปิดเผยว่า สำหรับประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี  2565 นี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดเครื่องอุปโภคบริโภค ลงพื้นที่ออกแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  ชลบุรี และ สมุทรสาคร และในวันนี้มูลนิธิฯ จัดได้พิธีปล่อยคาราวานเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเพื่อเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาลงพื้นที่แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนทั่วทุกเขตกรุงเทพมหานคร (รวม 50 เขต) โดยประสานงานกับสำนักงานเขต และหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคในการจัดเตรียมสถานที่และชุมชนในพื้นที่ในแต่ละจุด รวมถึงมาตรการการแจกจ่ายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) พร้อมทั้งสนับสนุนข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ มูลนิธิ/สมาคมจีน ประจำจังหวัดต่างๆ รวมการแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งสิ้น 4 จังหวัด รวมมูลค่าการแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565 มูลค่ากว่า 12.3 ล้านบาท

               งานประเพณีทิ้งกระจาด เป็นงานบุญประเพณีสำคัญของชาวพุทธที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่สมัยพุทธกาลกว่าสองพันปี กำหนดจัดขึ้นในเดือน 7 ตามจันทรคติของจีน เป็นการทำบุญใหญ่ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้วพร้อมกับการแจกทานให้ผู้ยากไร้  เป็นงานบุญที่ครบพร้อมทั้งการทำบุญและทำทาน โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้บำเพ็ญบุญประเพณีนี้ต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปีกว่า 80 ปี 

              ตลอดระยะเวลากว่า 112 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา   เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ Facebook Fanpage: www.facebook.com/atpohtecktung 

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลงพื้นที่แจกจ่ายข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภค เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565 แก่ผู้ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลงพื้นที่แจกจ่ายข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภค 

เนื่องในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565 แก่ผู้ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 


         มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการ มอบหมายให้ นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ จัดทีมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร นำโดย นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย รักษาการหัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี แจกจ่ายชุดข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา บรรจุกระเป๋าผ้าดิบมูลนิธิฯ แก่ผู้ขาดแคลนในพื้นที่อำเภอศรีราชา อำเภอเมือง อำเภอบ้านบึง และอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี รวม 4 อำเภอ ชุดข้าวสารจำนวน 2,000 ชุด รวมงบประมาณทั้งสิ้น 700,000 บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) โดยมี ผู้แทนหน่วยงานรัฐ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย มูลนิธิฯ / สมาคมจีนต่างๆ อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริวรรณ โอภาสวงศ์ นางศิริพร โอภาสวงศ์ อาสาสมัครกิตติมศักดิ์ และ อาสาศิลปิน นำโดย นางสาวพัชรมัย บุญเลิศกุล (แพรว พัชรมัย) นางสาวอธิชา เทศขำ (เมย์ อธิชา) นางสาวไดอนา แอน คาฮิลล์ นางสาวอรภัสญาน์ สุกใส ( มิ้วส์ อรภัสญาน์) นางสาวสุภัตรา ธระเสนา (ต่าย สุภัตรา) ร่วมในพิธี เมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565

         และในช่วงกลางเดือนสิงหาคม - เดือนกันยายน 2565 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดลงพื้นที่แจกจ่ายชุดข้าวสารพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และ 50 เขต กรุงเทพมหานคร เป็นลำดับต่อไป คิดมูลค่าดำเนินการงานแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคในประเพณีทิ้งกระจาด ประจำปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 11.7 ล้านบาท

         เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดในขณะนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาด ในปีนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังคงรูปแบบการทำบุญทิ้งกระจาดแบบลดการสัมผัส เป็นการบริจาคทรัพย์เพื่อสมทบทุนในการจัดซื้อชุดข้าวสาร อาหารแห้ง พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ โดยสามารถทำบุญได้ 3 ช่องทาง ดังนี้ 

1. ทำบุญชุดข้าวสาร ที่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

(ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ขอความร่วมมือในการงดรับข้าวสาร หรือสิ่งของอื่นๆ เพื่อลดการสัมผัส)

2. ทำบุญชุดข้าวสารออนไลน์: ผ่านบัญชีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง 

3. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและการเพิ่มมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จึงจัดให้มีช่องทางการร่วมทำบุญทิ้งกระจาดใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ https://pttfny.net/newsh/ ในอีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมติดตามงานประเพณีทิ้งกระจาดได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง www.facebook.com/atpohtecktung

       ประเพณีทิ้งกระจาด ถือได้ว่า เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่ปฏิบัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมูลนิธิฯ ได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาทุกปีเป็นเวลาช้านานกว่า 80 ปี และคาดว่าจะเป็นมูลนิธิแห่งแรก ที่จัดงานทิ้งกระจาดอย่างเป็นทางการและเป็นกิจจะลักษณะ เพราะถือว่าเป็นประเพณีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้วทั้งที่เป็นญาติและไม่เป็นญาติพร้อมกับทำทานให้แก่ผู้ยากไร้ ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีผู้ใจบุญจะนำเครื่องเซ่นไหว้ เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง และอื่น ๆ มากราบไหว้หลวงปู่ เพื่อทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งจะรวบรวมไว้ไปสมทบกับสิ่งของที่จัดซื้อเพิ่มเติม เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ พร้อมนำมอบองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

       ตลอดระยะเวลากว่า 112 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง รวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

        ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ท Facebook Fanpage: www.facebook.com/atpohtecktung

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง110ปีความดีที่ยั่งยืน

#ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##

#แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

พล.ต.อ.วินัย ทองสอง เปิดกอล์ฟการกุศล "รวมใจสาธิตประสานมิตร"

 พล.ต.อ.วินัย ทองสอง เปิดกอล์ฟการกุศล "รวมใจสาธิตประสานมิตร" 

        พล.ต.อ.วินัย ทองสอง เป็นประธานในพิธีเปิดงานกอล์ฟการกุศล "รวมใจสาธิตประสานมิตร" โดยมี ผศ.สมเกียรติ วรรณเฉลิม รอง ผอ.โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและ นายจิรธัช ลิ้มนนทกุล นายกสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ให้การต้อนรับ ณ สนามกอล์ฟปัญญารามอินทรา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา

โดยผลการแข่งขันกอล์ฟการกุศล "รวมใจสาธิตประสานมิตร" มีดังนี้

Flight Lady 

รองชนะเลิศ  Low Net ได้แก่ ด.ญ.นัทธ์ชนัน สุนทรทิพย์ ฮารุ  ม.1 สมาคมผู้ปกครองและครูฯ (ฝ่ายมัธยม) 

ชนะเลิศ Low Net ได้แก่  นางรัชนี สุดรุ่ง  ทีม พี​ระพัฒน์​ อิง​พงษ์​พันธ์​ 

ชนะเลิศ Low Gross ได้แก่ ด.ญ. ขวัญชนก บุญจันทร์ มะลิ  ม.2 สมาคมผู้ปกครองและครูฯ (ฝ่ายมัธยม) 

Flight C ( Handicap 19-24 )

รองชนะเลิศ Low Net ได้แก่ คุณณัฐกิตติ์ จอกโคกสู ทีม RPCA"56 

ชนะเลิศ Low Net ได้แก่ คุณปวีณ วัชรประทีป ทีม ออลฟอร์วัน 

ชนะเลิศ Low Gross ได้แก่  รศ.ดร.สัญชัย  อินทพิชัย ทีม KMUTNB

Flight B ( Handicap 13-18 )

รองชนะเลิศ Low Net ได้แก่  คุณภูริวัจน์ นิเทศวิทยานุกูล ทีม Golfgang"56

ชนะเลิศ Low Net ได้แก่ พ.ต.อ.วุฒิศักดิ์ รองเมือง ทีม พ.ต.อ.จักรพงศ์  นุชผดุง 

ชนะเลิศ Low Gross ได้แก่ คุณกิตติศักดิ์  ศิริโสภาพงษ์ ทีมชมเพลิน 

Flight A ( Handicap 0-12 )

รองชนะเลิศ Low Net ได้แก่ คุณธนพล รอดภิญโญ ทีม หลีซีฟู้ด

ชนะเลิศ Low Net ได้แก่ คุณนันท์วิชัย พันธุมะผล สมาคมศิษย์เก่าสาธิตประสานมิตร 1

ชนะเลิศ Low Gross ได้แก่ คุณพงษ์พนิช ภูวธนวัฒน์ ทีม Boss low on air

Overall Low Gross ได้แก่  พ.ต.ท.ธเนศ ศรีจำปา ทีม รศ.ดร.คมเพชร  ฉัตรศุภกุล

รองชนะเลิศประเภททีม 

รองชนะเลิศ Low Net ได้แก่  สมาคมศิษย์เก่าสาธิตประสานมิตร 1 (คุณนันท์วิชัย พันธุมะผล, คุณพงค์พัฒน์ ลิ้มสงวน, คุณปัญจภัทร์ สิทธิพรหม  และ คุณศรันยู ลวางกูร)

ชนะเลิศ ประเภททีม

ทีมชนะเลิศ Low Gross ได้แก่ รศ.ดร.คมเพชร  ฉัตรศุภกุล (พ.ต.ท.ธเนศ ศรีจำปา, คุณสุเมธ, คุณสุเทพ นุ่นเอียด และ รศ.ดร.คมเพชร  ฉัตรศุภกุล) 

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สวพส. เปิดงาน “วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” 11-12 สิงหาคม 2565 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

สวพส. เปิดงาน วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน 11-12 สิงหาคม 2565 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. จัดกิจกรรม วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการหลวงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา โดยในพิธีเปิดงาน ได้รับเกียรติจาก นายชวลิต ชูขจร ประธานอนุกรรมการวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ขึ้นกล่าวรายงาน โดยมีผู้นำเกษตรกรบนพื้นที่สูง ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมงาน (วันที่ 11-12 สิงหาคมม 2565) ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


นายชวลิต ชูขจร ประธานอนุกรรมการวิจัยและพัฒา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง  กล่าวว่า การจัดงาน วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา และเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้จากงานวิจัย และองค์ความรู้ที่ได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเกษตรกร ผู้แทนหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ สวพส.ให้พัฒนาสู่การเป็งองค์กรแห่งการเรียนรู้

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เน้นการนำเสนอผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงตามแนวทางโครงการหลวงที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานบูรณาการ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร ผู้แทนหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่สวพส.เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ต่าง ๆ ไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

  โดยมีการนำเสนอผลงานเด่นในรูปแบบการบรรยาย ที่น่าสนใจ เช่น ผลงานจากโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เรื่อง รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ผลงานเด่นจากโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ เรื่อง หยุดฝิ่น แก้จน คนถิ่นฝิ่น” นอกจากนี้ มีการนำเสนอ Best practices เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกร ผู้แทนหน่วยงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สวพส. โดยเน้นผลสำเร็จของการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงที่โดดเด่นและได้รับรางวัลต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ ในประเด็นสำคัญจากการดำเนินงานเพื่อแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับการดำเนินงานบนพื้นที่สูงมุ่งสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) การบริหารจัดการทรัพยากรแผนผังพัฒนาชุมชน สร้างสิทธิการใช้ที่ดิน พัฒนาน้ำ ฟื้นฟูป่า อนุรักษ์ดิน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ร่วมรักษาทรัพยากร และการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยผู้นำและสถาบันเกษตรกร 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนิทรรศการพร้อมการนำเสนอโดยผู้แทนชุมชน - หน่วยงาน ประกอบด้วย 9 โซน ได้แก่

  โซน 1 นิทรรศการกลาง สวพส. ร่วมกับหน่วยงาน

 โซน 2  มิติเศรษฐกิจ : แก้ไขความจนแบบพุ่งเป้า เศรษฐกิจสร้างสรรค์

 โซน 3 มิติสังคม : พัฒนาคน สร้างชุมชนเข้มแข็ง

 โซน 4 มิติสิ่งแวดล้อม : คนอยู่ร่วมกับป่า พัฒนาแหล่งน้ำ แก้ภัยแล้ง

 โซน 5 ระบบการบริหารจัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาพื้นที่สูง (HRDI GIS Portal)

 โซน 6 องค์ความรู้ใหม่ จากงานวิจัยสู่การพัฒนา

โซน 7 การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ด้วยผู้นำและสถาบันเกษตรกร

โซน 8 การบริหารจัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาพื้นที่สูง (HRDI  GIS Portal)

โซน 9 องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัยสู่การพัฒนา

นายวิรัตน์  ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกเหนือจากการจัดงาน วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” เพื่อนำเสนอผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงแล้ว ยังมีกิจกรรมที่สำคัญอีกหนึ่งกิจกรรมคือ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำเกษตรกร สวพส. การร่วมกันดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในบริเวณอุทยานหลวงราชพฤกษ์และบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ การปลูกข้าววันแม่ การตัดแต่งกิ่งไม้ผล ไม้ยืนต้น และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อร่วมกันบำรุงรักษาในบริเวณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ด้วย

 

 

สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย จัดพิธีเบิกเนตร บวงสรวงองค์มณีเมขลา เพื่อความเป็นสิริมงคลกับผู้ที่ได้รับรางวัลมณีเมขลา

สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย จัดพิธีเบิกเนตร บวงสรวงองค์มณีเมขลา เพื่อความเป็น

สิริมงคลกับผู้ที่ได้รับรางวัลมณีเมขลา



หลังจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย นำโดยนายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคมฯ จึงได้จัดงานการมอบ รางวัล มณีเมขลา” ครั้งที่3 ประจำปี 2565 ในวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 ณ SHOW DC





โดยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 ทางสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย จึงได้จัดพิธีเบิกเนตร บวงสรวงองค์มณีเมขลา นำโดย นายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย และ อาจารย์เก้า-มานิต สมมาตร ประธานจัดงานประกาศรางวัลมณีเมขลา 2565 โดยมีพิธีพราหมณ์อัญเชิญเทพเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เอาฤกษ์เอาชัย ให้ถ้วยรางวัลมีความศักดิ์สิทธิ์และทรงเกียรติ ทรงพลัง เพื่อความเป็นสิริมงคลกับผู้ที่ได้รับรางวัลมณีเมขลา โดยมีแขกผู้มีเกียรติ ศิลปิน ดารา นักร้อง และสื่อมวลชนร่วมงานจำนวนมาก



นายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานประกาศผลรางวัล มณีเมขลา” ประจำปี 2565 เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติและขวัญกำลังใจให้กับองค์กร บุคคล ศิลปิน ดารา นักร้องให้ได้มีพลังในการสร้างผลงานให้มีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งเป็นยกระดับมาตรฐานในวิชาชีพ สื่อมวลชน ทำให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ทั้งสาระความรู้ และความบันเทิงอย่างเหมาะสมในทุกกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหารายการเป็นประโยชน์ต่อสังคมในระดับสากล นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ความเป็นปึกแผ่นรากฐานที่มั่นคงในกลุ่มสื่อสารมวลชนทุกแขนง ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ รวมถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ทัดเทียม เป็นที่ยอมรับทั่วโลกอีกทั้งเป็นการ ยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้มีความภาคภูมิใจ และมีความซื่อสัตย์ในจรรยาบรรณในการเผยแพร่ข่าวตลอดจนช่วยเหลือสวัสดิการสมาชิกอีกด้วย


อาจารย์เก้า -มานิต สมมาตร ประธานจัดงานประกาศรางวัลมณีเมขลา 2565 โดย กล่าวว่า วันนี้ได้ทำการบวงสรวงก่อนที่จะมีการจัดงานประกาศรางวัลมณีเมขลาใน 20 สิงหาคม 2565 นี้ โดยหวังอย่างยิ่งว่ารางวัลนี้จะเป็นกำลังใจเพื่อพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงในปีนี้เรามีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ มีศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดงและผู้สื่อข่าว เข้าร่วมงานมากมาย ซึ่งการตัดสินรางวัลเสียงส่วนใหญ่มาจากเสียงประชาชนเป็นหลัก

 งานประกาศผลรางวัลมณีเมขลา ครั้งที่ 3” ประจำปี พ.ศ. 2565 จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. SHOW DC

 

 

 

 

 

 

 

 

  

สวนหลวง-สามย่าน จัดงาน "เฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม" อย่างยิ่งใหญ่ ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

สวนหลวง-สามย่าน จัดงาน "เฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม" อย่างยิ่งใหญ่  ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ชมการแสดงงิ้ว...