วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

พี่น้องสื่อมวลชนจัดงานอุทิศส่วนกุศลให้"คนข่าว" ผู้ล่วงลับที่เป็นตำนาน

พี่น้องสื่อมวลชนจัดงานอุทิศส่วนกุศลให้"คนข่าว" ผู้ล่วงลับที่เป็นตำนาน




            พี่น้องในแวดวงสื่อมวลชน พร้อมด้วยญาติสนิทมิตรสหาย ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศล ครบรอบ 1 ปี กับการจากไปของ นายชัยรัตน์ วโรดมสถาน อดีตคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และตำนาน “คนข่าว” ผู้ล่วงลับ อย่าง "นายวิชัย วลาพล" อดีตนายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย, นายวิชเลิศ งามขำ หรือพี่แอ๊ด ไทยรัฐ เจ้าของตำนานคอลัมน์ สหบาท, นายศิวดล ชวลิตปรีชา อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา แห่งประเทศไทย, นายปรินทร ภาวรรณ เจ้าของนามปากกา "ดาวแปดแฉก" หนังสือพิมพ์มติชน, นายไกรพงศ์ อาทรธำรงค์ เจ้าฉายาสายลับสองหน, นายเต็กฮง แซ่จึง ฉายาหล่อเลนิว นายไพโรจน์ มีศิลป์ เจ้าของนามปากกาจ่าโรจน์ นายชนะ หลีกเมฆ อดีตเหยี่วข่าวกรมตำรวจ แห่งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ นายศรี อินทปันตี ตำนานข่าวช่อง 4 บางขุนพรหม และนายอนันต์ อัศวนนท์ นามปากกามดคันไฟ คอลัมนิสต์ชื่อดัง เป็นตัน ณ วัดเพลงกลางสวน ตลิ่งชัน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 





           ทั้งนี้ นายณรงค์ วโรดมสถาน กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) จัดงานครั้งนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้น้องชายอย่าง นายชัยรัตน์ ที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับครบรอบ 1 ปี จึงได้มีความคิดที่ทำบุญให้กับผู้สื่อข่าวที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงตำนาน “คนข่าว” ที่จากไปด้วย

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใย สุขภาพชุมชน” เสริมสร้างประชาชนให้เข้มแข็งด้วยการมีสุขภาพที่ดี จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน ให้บริการตรวจ-รักษา แจกจ่ายแว่นสายตา ตัดผม ฯลฯ

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใย สุขภาพชุมชน” เสริมสร้างประชาชนให้เข้มแข็งด้วยการมีสุขภาพที่ดี 

จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน ให้บริการตรวจ-รักษา แจกจ่ายแว่นสายตา ตัดผม ฯลฯ 

โดยมีดร.สมศักดิ์ ชลาชล เจ้าของร้าน chalachol Academy ชื่อดังส่งทีมช่างตัดผมมาบริการให้กับประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า "

ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ


          มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก นางจินดา บุญลาภทวีโชค กรรมการตรวจสอบ และ ผู้ช่วยกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมในพิธีเปิดโครงการ “ป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใย สุขภาพชุมชน”  ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนฟรี .. ประกอบด้วย ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมการจ่ายยา คัดกรองเบาหวานเบื้องต้น บริการตรวจและแจกแว่นสายตา บริการทันตกรรม บริการตัดผม และจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็ก เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสนับสนุนให้ประชาชนใส่ใจในคุณภาพ โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดให้บริการประชาชนทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ระหว่างเวลา 09.00 – 14.00 น. ณ บริเวณลานสำนักงาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ โดยมีนายขวัญเมือง บุญประสงค์ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นายศิลปชัย พันธุ์สุริยานนท์ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาองค์กร คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ และประชาชน ร่วมในพิธี ณ บริเวณลานสำนักงาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566



        การออกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีกำหนดลงพื้นที่ให้บริการประชาชนทั้งที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย รวมถึงตามชุมชนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ประชาชนท่านใดสนใจเข้ารับบริการ สามารถติดต่อสอบถาม และติดตามข่าวสาร ตารางการออกหน่วยลงพื้นที่หน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน รวมถึงกิจกรรมช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung


          กว่า 46 ปี ที่หน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ออกหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่แก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ชุมชนแออัด และพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึง ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 113 ปี  มูลนิธิฯ ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุก ๆ ด้านต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ต้นแบบหมู่บ้านแก้ปัญหาความยากจนบนพื้นที่สูงระดับประเทศ

บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ต้นแบบหมู่บ้านแก้ปัญหาความยากจนบนพื้นที่สูงระดับประเทศ

        บ้านห้วยโทนเป็นหมู่บ้านชนเผ่าลัวะติดชายแดนประเทศลาวที่มีความยากจน เข้าไม่ถึงการพัฒนา ไม่มีอาชีพที่สร้างรายได้ ยังคงวิถีชีวิตดั้งเดิมด้วยการทำไร่ข้าวหมุนเวียน หาของป่า และรับจ้างทั่วไป เพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ ด้วยวิถีชีวิตและวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องเพาะปลูกข้าวให้ได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี จึงมีการบุกรุกทำลายป่า เกิดปัญหาภูเขาหัวโล้นตามมา จังหวัดน่านจึงกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกจับตาเรื่องปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมที่ปรากฏชัดผ่านสื่อต่างๆ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการ จัดการปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด


             สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เป็นหนึ่งหน่วยงานที่ดำเนินงานแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ ที่เข้ามาดำเนินงานในพื้นที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้ความรู้และข้อมูลร่วมกันวางแผนการพัฒนาชุมชน กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำแผนชุมชน เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ตรงปัญหาและความต้องการที่แท้จริง 

             จากการวิเคราะห์พื้นที่ วางแผนพัฒนา และดำเนินงานพัฒ นามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้บ้านห้วยโทน สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ชุมชนได้รับการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยระบบการเกษตรปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการนำองค์ความรู้จากแต่ละหน่วยงานมาเพิ่มผลผลิตข้าว และเพิ่มอาชีพทางเลือกใหม่ ทำให้เกษตรกรร้อยละ 76 ของชุมชน มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 100,000-250,000 บาท/ครัวเรือน/ปี จากผลผลิตกาแฟอราบิก้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทนซึ่งเป็นพืชหลักจากการส่งเสริม เป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ยั่งยืน สอดคล้องกับภูมิสังคมของพี่น้องลัวะบ้านห้วยโทน และที่สำคัญคือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดพื้นที่ไร่หมุนเวียน ลดการเผาซึ่งเป็นสาเหตุของหมอกควันไฟป่า คืนพื้นที่สีเขียวด้วยกาแฟและไม้ท้องถิ่นกว่า 1,350 ไร่ ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ร่วมกันดูแลป่าต้นน้ำและป้องกันไฟป่าในพื้นที่ของจังหวัดน่าน รวม 10,646 ไร่


            จากความร่วมมือของชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมพัฒนาเมืองน่านสู่เมืองแห่งความสุข เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธรรมชาติสมบูรณ์ การเกษตรมั่งคั่ง ชุมชนเข้มแข็ง ทำให้บ้านห้วยโทนได้รับรางวัลการันตีด้วยรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2565 ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) ผลงานระดับดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในผลงาน: ร่วมมือสร้างรายได้ ร่วมแรงใจให้ท้องอิ่ม สร้างรอยยิ้มชาวห้วยโทน ติดตามความสำเร็จของบ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ได้ที่ Link นี้   https://hrdiorth-my.sharepoint.com/:v:/g/personal/phutthiphatp_hrdi_or_th/ESP8u-Bg9z9EkBTkK-LXNskBS6WuGXZkOIL-1CfknL6EGg?e=z47Pta


            สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เป็นองค์กรที่มีภารกิจพัฒนาพื้นที่สูง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และหลักการทำงานตามแนวทางโครงการหลวง มุ่งเน้นการพัฒนาการดำรงชีวิตของคนและชุมชนให้มีความพอเหมาะพอสมกับธรรมชาติบนพื้นที่สูง สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านต่างๆ ได้ ปรับใช้องค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ควบคู่กับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


             เป้าหมายสูงสุดของ สวพส. คือ ชุมชนบนพื้นที่สูงมีความอยู่ดีมีสุข ด้วยการวิจัยและพัฒนา สืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการหลวง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเป้าหมายมีความมั่นคงทางด้านอาหารและมีรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตตามแนวทางโครงการหลวงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้จากการสนับสนุนงานโครงการหลวงและพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง และในพื้นที่เป้าหมายลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน

Website: www.hrdi.or.th 

Website อุทยานหลวงราชพฤกษ์: http://www.royalparkrajapruek.org/ 

Facebook: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) – HRD


ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN–Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) ขานรับการผสานความร่วมมือสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก

ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น

(ASEAN–Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue)

ขานรับการผสานความร่วมมือสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก



        นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำคณะเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองก่อนการประชุมพิเศษรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) โดยมีผู้นำระดับสูงของชาติอาเซียนและญี่ปุ่นให้เกียรติเข้าร่วมงานฯ ได้แก่ ดร.เกา กึมฮวน เลขาธิการอาเซียน จากสํานักเลขาธิการอาเซียน, นางสาวตูเตียตี อับดุล วาฮับ ปลัดกระทรวงทรัพยากรขั้นพื้นฐานและการท่องเที่ยว จากบรูไนดารุซสลาม, ,นายทิศ จันทรา ปลัดกระทรวงท่องเที่ยว จากกัมพูชา, นายซันดิอากา ซาลาลุดดิน อูโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากอินโดนีเซีย, นางสวนสวรรค์ วิยะเกต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว จาก สปป.ลาว, นายไครุล เฟอร์ดาอุส บิน อัคบาร์ กัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรม จากมาเลเซีย, นายฟรานซิสโก กัลบูอาดี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม จากติมอร์เลสเต, นายไซโต เท็ตสึโอะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว จากญี่ปุ่น และนายนัวร์ อาหมัด ฮามิด CEO PATA ณ โรงแรม Tokyo Prince เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566


        อนึ่ง การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม Tokyo Prince ภายใต้หัวข้อ “อนาคต 50 ปีข้างหน้าของอาเซียน-ญี่ปุ่น: การออกแบบวิถีสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกัน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมือ อาเซียน-ญี่ปุ่น



        ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการหารือใน 2 ประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (2) การแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน และผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ฯลฯ จะร่วมหารือและแสดงความคิดเห็นภายใต้ประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยว (1) และ (2) ดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในระดับภูมิภาค และแสดงให้นานาชาติรับรู้ว่าภูมิภาคของเราให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

#ASEANJapanTourismMinistrialsSpecialdialogue #AmazingThailand

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดกฐินสามัคคีมหากุศลฯ ประจำปี 2566 ณ วัดเทพประทาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

พล.อ.อ.ชลิต  พุกผาสุข องคมนตรี เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ

ทอดกฐินสามัคคีมหากุศลฯ ประจำปี 2566   

ณ วัดเทพประทาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี


           พลอากาศเอก ชลิต  พุกผาสุข องคมนตรี ประธานคณะกรรมการจัดสร้างพระสมเด็จองค์ปฐม “พระพุทธเมตตา” จะไปเป็นประธานทอดกฐินสามัคคีมหากุศลฯ ประจำปี 2566 ณ วัดเทพประทาน (อธิพร) อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายนนี้ เวลา 12.30 น. เพื่อรวบรวมปัจจัยจัดตั้งกองทุนสมเด็จองค์ปฐมฯ เพื่อดูแลพระสมเด็จองค์ปฐม “พระพุทธเมตตา” ให้งดงาม สมพระเกียรติตลอดไปตราบตราบกาลนิรันดร์


           ในการนี้จะมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จากโรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) และสถาบันโรคผิวหนังมาให้บริการด้วย จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินฯ โดยบริจาคเงินตามจิตศรัทธา หรือบริจาคเงินตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จะได้รับพระพิมพ์สมเด็จองค์ปฐมฯ เป็นสิริมงคล 1 องค์ โดยโอนเงินเข้าบัญชีวัดเทพประทาน 

ธนาคารกรุงไทย สาขาสอยดาว  เลขบัญชี  252-0-27795-5 

ธนาคารกรุงเทพ  เลขบัญชี  565-0-43167-8 

ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 404-8-08562-8

           หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไลน์ไอดี 085-114-8900 , 089-215-3455  และ 081-621-9797

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร จัดพิธีทิ้งกระจาด แจกเครื่องอุปโภคบริโภคและชุดยาสามัญประจำบ้านรวม 500 ชุด

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร จัดพิธีทิ้งกระจาด 

แจกเครื่องอุปโภคบริโภคและชุดยาสามัญประจำบ้านรวม 500 ชุด



        มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิฯ พร้อมด้วย นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ จัดเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย น้ำมันพืช น้ำปลา ขนม และชุดยาสำเร็จรูป รวมมูลค่า 126,133.40 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นหกพันหนึ่งร้อยสามสิบสามบาทสี่สิบสตางค์) ร่วมกับวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร นำโดย พระธรรมวชิรปาโมกข์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส และ พระศรีวิศาลคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส จัดชุดเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำดื่ม น้ำยาล้างจาน และน้ำตาลทราย รวมจำนวน 500 ชุด เพื่อประกอบพิธีทิ้งกระจาด (ซิโกว) นำแจกจ่ายให้แก่ผู้ยากไร้




         ในการนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดทีมเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย และอาสาสมัคร อำนวยความสะดวกแก่วัดและประชาชนที่มาร่วมงาน โดยมี นายขวัญเมือง บุญประสงค์ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พร้อมด้วย นายวิธาน พรหมสินธุศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่วมในพิธี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418 

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิ

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ป่อเต็กตึ๊งซับน้ำตาช่วยผู้เหลือประสบอัคคีภัยชาวชุมชนตรอกสาเก

ป่อเต็กตึ๊งซับน้ำตาช่วยผู้เหลือประสบอัคคีภัยชาวชุมชนตรอกสาเก



        มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดยคุณอรัณย์  โตทวด ผู้จัดการใหญ่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และคุณรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ร่วมกับ มูลนิธิฯ/สมาคมจีนต่างๆได้ลงพื้นที่สงเคราะห์ผู้ประสบอัคคีภัย บริเวณชุมชนตรอกสาเก ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 ครอบครัว 22 คน โดยมีนายโกศล  สิงหนาท ผู้อำนวยการเขตพระนคร มาร่วมในพิธีมอบ ณ บริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ 2566




โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ

1. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สงเคราะห์เป็นเงินสดคนละ 3,000 บาท จำนวน 22 คน เป็นเงิน 66,000 บาท (หกหมื่นหกพันบาทถ้วน) พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภครายบุคคลจำนวน 19 ชุด ชุดละ 1,500 บาท เป็นเงิน 28,500 บาท (สองหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และเครื่องอุปโภคบริโภครายครอบครัวจำนวน 3 ชุด ชุดละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท (เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) รวมสงเคราะห์ทั้งสิ้น 102,000 บาท (หนึ่งแสนสองพันบาทถ้วน)

2. มูลนิธิไกรสิทธิการกุศล มอบเงินสด คนละ 400 บาท จำนวน 22 คน เป็นเงิน 8,800 บาท




3. มูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมสงเคราะห์ มอบเงินสด ครอบครัว ละ 400 บาท จำนวน  15 ครอบครัว เป็นเงิน  6,000 บาท

4. พุทธสมาคมปทุมรังษี มอบข้าวสาร คนละ 10 กก. จำนวน  22 คน รวม 220 กก. เป็นเงิน 3,300 บาท

รวม 4 องค์กร รวมสงเคราะห์ให้แก่ผู้ประสบอัคคีภัยเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 120,100 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน) 

หมายเหตุ เกิดเหตุเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.12 น.

สวนหลวง-สามย่าน จัดงาน "เฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม" อย่างยิ่งใหญ่ ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

สวนหลวง-สามย่าน จัดงาน "เฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม" อย่างยิ่งใหญ่  ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ชมการแสดงงิ้ว...