วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สจล. เปิดหลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล”พัฒนาศักยภาพคนพิการ

สจล. เปิดหลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล”พัฒนาศักยภาพคนพิการ

        สำนักการเรียนรู้ตลอดชีวิตพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KLLC) ภายใต้สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดโครงการ DEP หลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล เพื่อคนพิการ สร้างงาน สร้างอาชีพ” โดยมี ผศ.ดร.ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็นหัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย รศ.ดร.จรสวรรณ โกยวานิช ผู้อำนวยการ KLLC, คุณหญิง ดร. สุมาลี อุทัยเฉลิม กรรมการสภาสถาบันฯ เข้าร่วมงานแถลงข่าวโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ ในงานแถลงข่าวยังได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเปิดโครงการ

ภายใต้ความร่วมมือจาก 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) 4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) 5. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี (มสด.) 6. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพคนพิการในการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง ณ ห้อง Auditorium ชั้น7 อาคาร The Knowledge Exchange (KX) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา

        ผศ.ดร. ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว หัวหน้าโครงการนักสื่อสารดิจิทัลสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ” กล่าวว่า เป้าหมายของการอบรม คือ คนพิการสามารถมีทักษะในการประกอบอาชีพอิสระด้านการผลิตสื่อ และการสื่อสารดิจิทัล โดยสามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ที่บ้านไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน โดยร้อยละ 100 ของผู้ผ่านหลักสูตรส่งเสริมการทำอาชีพอิสระ มีรายได้ ไม่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ปี พ.ศ. 2567 (328 บาท/ วัน) และยังสามารถสร้างเครือข่ายบุคลากรของสถาบันทั้ง คณาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานเรื่องการเพิ่มศักยภาพคนพิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 30 ราย

       สำหรับหลักสูตรนักสื่อสารดิจิทัล DEP MASTERCLASS มาจากแนวคิดหลักสูตร “นักสื่อสารดิจิทัล” เพื่อคนพิการ สร้างงาน สร้างอาชีพ” ซึ่งความหมายของชื่อโครงการมีที่มาประกอบด้วย  DEP มาจากชื่อย่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และยังมาจากความหมายของ D: Development Digital Skills, E = Empowerment, P = People, Professional Training หมายถึงเป้าหมายของโครงการในการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เพื่อคนพิการ และDisable Persons can make Everything Possible. โดยมีรายวิชา ดังนี้

1. วิชาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล

2. วิชาการเขียนบทความ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

3. วิชาการถ่ายภาพ การทำภาพเพื่อการตลาด

4. วิชาการทำอินโฟกราฟฟิก การทำเอกสาร สื่อวิดีโอ นำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการ

5. วิชาการพูดในที่สาธารณะ

6. วิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ และการสื่อสารอย่างมืออาชีพ

7. วิชาการตลาดดิจิทัล

       โดยในแต่ละวิชามีแผนการจัดอบรมด้วยระยะเวลารวมตลอดหลักสูตร 420 ชั่วโมง ทั้งนี้ จะเริ่มอบรมระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2567  ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและสมัครเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจำนวนผู้สมัครจะครบ 50 คน สามารถสมัครได้ที่ ลิ้งค์ https://shorturl.at/dnCV4 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and Art Festival 2024”

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and  Art Festival 2024”  16 ธ.ค. 2567 ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568  ณ สวนไม้งามริมน้ำกก         ...