วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566

งานอบรม "รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานวงการสื่อ"

งานอบรม "รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานวงการสื่อ" 

โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์



        ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานวงการสื่อ” พร้อมด้วย นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสื่อสำหรับประชาชน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ ได้แก่ ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ณ ห้องแพลตตินั่ม ฮอลล์  โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566


      
 
       ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า วันนี้นับเป็นจุดริเริ่มในการที่จะให้ประชาชนทุกคนเรียนรู้ให้เท่าทันกับข้อมูลข่าวสาร เพราะในปัจจุบัน ทุกคนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อ ข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับในแต่ละวัน เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าต้นทางอยู่ที่ไหน เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะข้อมูลต่างๆสามารถสร้างได้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เราจึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้เราเองตกเป็นเหยื่อ กองทุนสื่อจึงต้องมีการจัดเก็บข้อมูลว่า “สื่อ” สามารถสร้างผลกระทบในโลกดิจิทัลได้อย่างไร ทั้งผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ อีกทั้งกองทุนสื่ออยากให้ประชาชนทุกคน รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน เพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่มาจากสื่อที่ไม่ปลอดภัย และเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทันข้อมูลข่าวสารในโลกดิจิทัล สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือเราอยากเห็นนักสร้างสื่อ คนในแวดวงสื่อ นำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกสู่สังคม



        นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อมวลชน ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า อนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีหน้าที่ในการทำงานให้ตอบโจทย์ในแง่ของการทำงานของสื่อ โดยเน้นเรื่องการนำนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ มาขยายผลและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด หากเราพูดถึงเครื่องมือสมัยใหม่ ถ้าเรายังไม่ได้ทำให้คนรุ่นใหม่หรือคนทำสื่อเข้าใจ โอกาสในการผลิตสื่อสมัยใหม่ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เราจึงต้องจัด



         งานอบรม “รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานวงการสื่อ” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในโลกเสมือนหรือMetaverse Experience เพื่อเปิดโอกาสแห่งการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี Platform ใหม่ ๆ ที่กำลังได้รับความสนใจว่าอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ซับซ้อน หากเรามีการป้อนข้อมูลที่มีประโยชน์ มีการจัดการที่ดีก็จะสามารถพัฒนาและผลิตผลงานสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกสู่สังคมได้มากยิ่งขึ้น



          โดย งานอบรม “รู้จัก รู้ลึก รู้ทัน ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับงานวงการสื่อ” ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่ ดร.นน อัครประเสริฐกุล อนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายในงานมีผู้ทรงคุณวุฒิ นายยศพร ปัญจมะวัต ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิต ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รองประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ , นางสุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นายกฤษกร รอดช้างเผื่อน อนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสื่อสำหรับประชาชน และบุคลากรของกองทุนสื่อ สื่อมวลชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน



       สำหรับการจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ Technologies in Media Creation and Beyond ,AI (Artificial Intelligence) คืออะไร AI เรียนรู้ได้อย่างไร ในภาษาที่เข้าใจง่าย , AI สามารสร้างสื่อให้เราได้มากน้อยขนาดไหนในยุคปัจจุบัน , รู้เท่าทันเครื่องมือ AI เช่น ChatGPT และกรณีศึกษาต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Challenge Statement ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลองใช้เครื่องมือ AI เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมหลังการอบรมได้ที่ www.thaimediafund.or.th

    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ททท.สำนักงานเชียงราย ชวนนักท่องเที่ยวมาสัมผัสเชียงรายและพะเยาช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มอบสิทธิพิเศษให้แก่นักท่องเที่ยวภายใต้แคมเปญ “สุขทันที...ที่ Check In เมืองน่าเที่ยวเชียงราย-พะเยา”

ททท.สำนักงานเชียงราย ชวนนักท่องเที่ยวมาสัมผัสเชียงรายและพะเยาช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มอบสิทธิพิเศษให้แก่นักท่องเที่ยวภายใต้แคมเปญ ...