วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยผลการศึกษาวิจัยและ พัฒนาสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ระยะที่ 2

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผย

ผลการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อสำหรับเด็ก

ปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ระยะที่ 2

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ในระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย ทดลองและพัฒนาการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 3-6 ปี ที่มุ่งเน้นให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการ ซึ่งเป็นการต่อยอดกระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนาจากระยะที่ 1 ในปีที่ผ่านมา

นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงเด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่สำคัญอย่างยิ่ง กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงมีแนวทางในการศึกษาและพัฒนาสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งในช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นช่วงวัยที่เริ่มเปิดรับสื่อประเภทจอ (Screen Media) ได้ในความยาวที่เหมาะสม และจากองค์ความรู้ด้านพัฒนาการเด็กช่วงวัยดังกล่าวและสถานการณ์สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยในปัจจุบัน จึงร่วมมือกับวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทำงานต่อเนื่องพัฒนาต่อยอด โดยมุ่งสร้างองค์ความรู้ด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี ที่สามารถนำไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ได้ต่อไป

เนื้อหาสำหรับเด็กที่จะต้องรู้ผ่านสื่อช่วงอายุ 3-4 ปี ควรจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นดนตรี เด็ก 5-6 ปีก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง อันนี้คือช่วงแรกที่เราเริ่มในการศึกษาวิจัยนี้ ขั้นตอนที่ 2 ที่ปรึกษาที่รับงานไปทำจะต้องรู้ว่าเป็นงานที่ซับซ้อน นักวิชาการที่ไปทำงานก็คือคนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของเด็ก สหวิชาชีพการบูรณาการด้านจิตวิทยาเด็ก รวมถึงต้องไปทำงานกับคนที่เข้าใจเรื่องสื่อด้วย ในขั้นตอนที่ 2 ก็มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เด็ก 5-6 ปี เนื้อหาก็จะเป็นอีกแบบนึง นำเสนอแล้วช่วงเวลาก็ไม่ยาวจนเกินไป ถ้าเป็นมีเดียสกรีนหรือสกรีนมีเดียก็ไม่ควรเกิน 5 นาที และที่สำคัญอาจจะเป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีความซับซ้อนมากมายนัก พอได้ตัวนี้ขึ้นมา เราก็เริ่มที่จะเห็นองค์ความรู้แล้ว พอได้มาแล้วเราก็เอาไปคิดดูรูปแบบรูปแบบไหนที่เหมาะกับเด็กจริงๆ

การพัฒนาครั้งนี้ได้ต่อยอดให้เกิดเป็นสื่อนำร่องหรือสื่อต้นแบบสำหรับการพัฒนาแนวทางการผลิตสื่อสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ในอนาคตมา 2 รายการ คือ


รายการจังหวะคิดส์ สำหรับเด็กอายุ 3-4 ปี คิดส์ในที่นี่คือ KID (เคไอดี) คิดส์ที่แปลว่าเด็ก จังหวะก็เหมือนสเต็ป เช่นว่าในการศึกษาหาความรู้ ในการศึกษาทางวิชาการ การแสวงหาความรู้พบว่า เด็ก 3-4 ปี การนำเสนอเรื่องราวของดนตรี มิวสิ๕ เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้ แล้วก็ดนตรีมันจะมีจังหวะเต้น นักพัฒนาการของเด็กนี่ก็สามารถที่จะระบุลงไปในรายละเอียดด้วยว่า จังหวะเต้นของเท้า ของเสียงดนตรี ต้องไปแม็ทชิ่งกันพอดีกับการเต้นของหัวใจอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันจะส่งผลให้การพัฒนาการเด็กเป็นไปอย่างสมบูรณ์

รายการที่ 2  คือรายการ Flowers Power สำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี Flowers Power ก็คือพลังแห่งดอกไม้ เนื้อหาต้องการสร้างทักษะทางสังคม ให้เด็กรู้ว่าต้องอยู่ในสังคมอย่างไร  เจอเหตุการณ์แบบนี้ต้องปรับตัวยังไง หรือมีปัญหาแบบนี่จะแก้ยังไง

เพราะหลายต่อหลายครั้งที่เราไปดูสื่อ แล้วเขาบอกว่าสื่อสำหรับเด็ก ดูไปดูมา มันเป็นสื่อสำหรับผู้ใหญ่ สื่อสำหรับผู้ปกครองที่มีลูกเล็กๆ เพราะฉะนั้นการทำสื่อเด็ก ให้เด็กดู เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย อันนี้มันยากจริงๆ เพราะว่าเราไม่สามารถให้เด็กเล็กทำสื่อสำหรับตัวเขาเอง การผลิตนี่มันเป็นผู้ใหญ่ผลิต การที่ผู้ใหญ่ผลิตแล้วจะให้ไปสอดคล้องกับในเชิงหลักวิชาการ แล้วไปตอบโจทย์ความสนใจของเด็ก ได้ประโยชน์ด้วย เด็กได้เติบโตทั้งร่างกายและจิตใจด้วยนี่ยาก แต่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะพยายาม

                “การพัฒนาสื่อเพื่อเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในประเทศไทยยังต้องการพัฒนาองค์ความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งกระบวนการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีรายละเอียดที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและใส่ใจในทุกขั้นตอน และต้องมีการบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายสาขา ทั้งทางด้านสื่อและด้านพัฒนาการเด็ก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะจึงจำเป็นจะต้องดำเนินการศึกษาวิจัยพัฒนาเพื่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ททท. จับมือเซ็นทรัลพัฒนา และยักษ์ใหญ่วงการอาร์ตทอย จัดงาน The World’s Great Celebration 2025

ททท. จับมือเซ็นทรัลพัฒนา และยักษ์ใหญ่วงการอาร์ตทอย  จัดงาน The World’s Great Celebration 2025  เทศกาลแห่งความสุขระดับโลก        เมื่อประเทศไ...